สายดิน คือสายไฟฟ้าเส้นหนึ่งโดยปลายสายดินต้องทำการต่อลงดิน เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานไฟฟ้า ส่วนอีกปลายด้านหนึ่งจะต่อเข้ากับวัสดุหรือโครงภายนอก ที่ต้องการให้มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์เท่ากับพื้นดิน
สายดิน ทำให้เวลาเกิดไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าช็อต กระแสไฟฟ้าเหล่านั้นจะไหลลงดินทันที ทำให้ไม่เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน
เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทใดต้องมีสายดิน
1.เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท1 ซึ่งมักมีไฟรั่วได้ง่าย โดยส่วนประกอบภายนอกของเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเป็นโลหะ หรือเกี่ยวข้องกับความร้อน เช่น กระทะไฟฟ้า ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน เครื่องทำน้ำร้อน
การต่อสายดิน
ตามมาตรฐานที่การไฟฟ้านครหลวงกำหนด (โรงงานอุตสาหกรรมให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า ลงวันที่ 15 มีนาคม 2515 ทั้งนี้ ปัจจุบันได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายเพื่อรองรับพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 เสร็จเรียบร้อยแล้ว) ดังนี้
1.จุดต่อลงดินของระบบไฟฟ้า(จุดต่อลงดินของเส้นศูนย์หรือนิวทรัล) ต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดวงจรตัวแรกของตู้เมนสวิตซ์
2.ภายในอาคารหลังเดียวกันไม่ควรมีจุดต่อลงดินมากกว่า 1 จุด
3.สายดินและสายเส้นศูนย์สามารถต่อร่วมกันได้เพียงแห่งเดียวที่จุดต่อลงดินภายในตู้เมนสวิตซ์ ห้ามต่อร่วมกันในที่อื่น
4.ตู้เมนสวิตซ์สำหรับห้องชุดของอาคารชุดและตู้แผงสวิตซ์ประจำชั้นของอาคารชุดให้ถือว่าเป็นแผงสวิตซ์ย่อยห้ามต่อสายเส้นศูนย์และสายดินร่วมกัน
5.ไม่ควรต่อโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินโดยตรง แต่ถ้าได้ดำเนินการไปแล้วให้แก้ไขโดยมีการต่อลงดินที่เมนสวิตซ์อย่างถูกต้องแล้วเดินสายดินจากเมนสวิตซ์มาต่อร่วมกับสายดินที่ใช้อยู่เดิม
6.ไม่ควรใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิด120/240Vกับระบบไฟ220V เพราะพิกัดIC จะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง
7.การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วจะเสริมการป้องกันให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น เช่น กรณีที่มักจะมีน้ำท่วมขังหรือกรณีสายดินขาด เป็นต้น และจุดต่อลงดินต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดไฟรั่วเสมอ
8.ถ้าตู้เมนสวิตซ์ไม่มีขั้วต่อสายดินและขั้วต่อสายเส้นศูนย์แยกออกจากกันเครื่องตัดไฟรั่วจะต่อใช้ได้ เฉพาะวงจรย่อยเท่านั้น โดยจะใช้ตัวเดียวป้องกันทั้งระบบไม่ได้
9.วงจรสายดินที่ถูกต้องในสภาวะปกติจะต้องไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล
10.ถ้าเดินสายไฟในท่อโลหะจะต้องเดินสายดินในท่อโลหะนั้นด้วย
11.ดวงโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์ติดตั้งที่เป็นโลหะควรต่อลงดิน มิฉะนั้นต้องอยู่เกินระยะที่บุคคลทั่วไปสัมผัสไม่ถึง (สูง 2.40เมตร หรือห่าง 1.50เมตร ในแนวราบ)
12.ขนาดและชนิดของอุปกรณ์ระบบสายดินต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก สำนักความปลอดภัยแรงงาน
ป้ายเซฟตี้เรืองแสง ขนาด 20 x 30 ซ.ม.ป้ายเซฟตี้เรืองแสง ป้ายทางออกเรืองแสง ป้ายทางหนีไฟเรืองแสง ป้ายเตือนเรืองแสง ป้ายด้านความปลอดภัยเรืองแสง รหัส OT-SIGN20X ขนาด 20 x 30 |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |
ตะแกรงป้องกันการหกล้น รหัส 28658ตะแกรงป้องกันการหกล้น ตะแกรงวางถังสารเคมี ฐานรองรับน้ำมัน ฐานรองรับสารเคมี ทำมาจากโพลีเอธิลีนที่ได้จากการรีไซเคิล 100% ทำให้ไม่เกิดความเสียหาย |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |
แว่นตานิรภัยครอบแว่นสายตา Duospexแว่นตาเซฟตี้ แว่นตานิรภัยรุ่นครอบแว่นสายตา Duospex สามารถใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์ สวมครอบแว่นสายตาปกติได้ มาตรฐาน ANSI Z78.1-2000 |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |
ป้ายเตือน ขนาด 30 x 45 ซ.ม.ป้ายเตือน ป้ายเตือนเพื่อความปลอดภัย ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี และปิดทับด้วยสติกเกอร์คุณภาพสูงจาก 3M รับประกันการใช้งานนานเป็นปี มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |