callcenter
หน้าหลัก >> ข่าวสาร >> เก็บรักษาวัสดุอย่างไรให้ปลอดภัย

เก็บรักษาวัสดุอย่างไรให้ปลอดภัย

การเก็บรักษาวัสดุในสถานที่ที่เหมาะสมถือเป็นหนึ่งในการสร้างความปลอดภัย ลองคิดดูหากเก็บโลหะแผ่นที่มีน้ำหนักไว้บนที่สูงปะปนกับถังหรือกล่องลัง หากพนักงานไม่ทราบแล้วไปยกกล่องลัง ย่อมอาจเกิดอุบัติเหตุจากโลหะแผ่นหล่นทับได้ ในวันนี้พีดีเอสจะพาทุกท่านไปเรียนรู้ผ่านบทความ ในการจัดเก็บวัสดุเพื่อความปลอดภัย

การจัดเก็บวัสดุเพื่อความปลอดภัย

1.ต้องมีสถานที่เก็บวัสดุ โดยมีการเก็บดังนี้
     1.1.แบ่งแยกประเภทของวัสดุให้เป็นที่เป็นทาง เป็นหมวดหมู่
     1.2.จัดระเบียบวัสดุให้เรียบร้อย ต้องไมมีของเกะกะ ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้
     1.3.วางแผนการวางวัสดุ โดยวัสดุที่ใช้งานบ่อย ต้องอยู่ในจุดที่สามารถขนย้ายและจัดเก็บได้ง่าย
     1.4.ต้องมีช่องทางเดินที่สะดวกในการเคลื่อนย้ายวัสดุแต่ละชนิด รวมไปถึงทางสัญจรสำหรับพาหนะขนย้าย
     1.5.ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ในประจำจุด
     1.6.การซ้อนวัสดุประเภทเดียวกัน ไม่ควรซ้อนวัสดุสูงจนเกินที่กำหนด เพื่อไม่ให้พื้นที่รับน้ำหนักมาก และเวลาขนย้ายจะได้ไม่เกิดอันตรายจากวัสดุหล่นทับ

2.ภาชนะสำหรับเก็บวัสดุ
      2.1.จัดสรรพื้นที่ในการจัดเก็บวัสดุ โดยอย่าให้รับน้ำหนักจนเกินพิกัด
      2.2.หากวัสดุเก็บไว้ในถุงหรือกระสอบ ต้องมัดปากถุงให้แน่น และไม่ซ้อนถึงจนเกินไป

3.จัดสรรวัสดุตามประเภท
       3.1.วัสดุประเภทสารเคมี ต้องจัดเก็บในสถานที่ปิด ซึ่งสามารถเข้าไปได้เฉพาะพนักงานผู้เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้สารเคมีรั่วไหลไปยังพื้นที่อื่น พร้อมกับติดตั้งอุปกรณ์เซฟตี้ ได้แก่ ถังดับเพลิงฉุกเฉิน อ่างล้างหน้าล้างมือฉุกเฉิน เป็นต้น
       3.2.วัสดุประเภทท่อหรือวัสดุแท่งยาว ควรเก็บในราวที่ซึ่งเวลาเอาของออกจะไม่เป็นอันตรายกับผู้ที่ผ่านไปมา ด้านหนึ่งของราวไม่ควรจะหันเข้าหาช่องทางสัญจรใหญ่ ท่อขนาดใหญ่หรือแท่งโลหะยาวๆ ควรจะวางซ้อนเป็นชั้นๆ หรืออาจวางบนชั้นแยกเป็นประเภทไว้ และต้องเอาแผ่นไม้ไปกั้นไว้เพื่อไม่ให้กลิ้งหรือล้มได้ง่าย
       3.3.โลหะแผ่น ซึ่งมักจะมีคม ต้องเก็บในสถานที่มิดชิด ไม่ยื่นออกมาในทางสัญจร แล้วไม่ควรวางโลหะแผ่นซ้อนกันสูงจนเกินไป
        3.4.วัสดุสารที่เป็นเม็ดละเอียดหรือฝุ่นผง เช่น ปุ๋ย ฝุ่นไม้ แป้ง สารเคมี ผงถ่าน ต้องแยกประเภทออกจากกันและเก็บให้มิดชิด อย่าให้สารเหล่านั้นผสมกันจนเกิดอันตราย พร้อมกับติดตั้งถังดับเพลิงฉุกเฉินไว้ประจำจุด

การป้องกันอันตรายในพื้นที่เก็บรักษาวัสดุ

1.การติดตั้งป้ายเตือนประจำจุด โดยเฉพาะจุดที่เก็บวัสดุไวไฟ หรือวัสดุอันตราย
2.ติดตั้งรายชื่อวัสดุที่เก็บแต่ละจุด จะได้ขนย้ายวัสดุไม่ผิดพลาด
3.ติดตั้งถังดับเพลิงในพื้นที่เสี่ยงทุกจุด เพื่อป้องกันเหตุการณ์ฉุกเฉิน
4.ทำความสะอาดพื้นที่ในทางสัญจรในสถานที่เก็บวัสดุสม่ำเสมอ
5.ในบางพื้นที่จัดเก็บวัสดุ การจะขนย้ายวัสดุ ต้องสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ก่อนขนย้ายเสมอ
6.ปฏิบัติตามกฎการทำงานสม่ำเสมอ เช่น การไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่จัดเก็บวัสดุ

 


อุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจพร้อมถังอัดอากาศ

อุปกรณ์ช่วยหายใจพร้อมถังอัดอากาศ 6.8 ลิตร 300 บาร์ 45 นาที Honeywell T8000 SCBA ผลิตตามมาตรฐาน EN137 : 2006
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ถุงมือ MaxiFlex Ultimate

ถุงมือ MaxiFlex Ultimate ถุงมือสำหรับหยิบจับชิ้นส่วนขนาดเล็ก อะไหล่รถยนต์ เครื่องมือช่าง งานซ่อมบำรุง วัสดุผ้าไนล่อนเคลือบยางโพลียูรีเทนไนโตร
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ถุงมือหนังสำหรับสวมทับถุงมือยางกันไฟฟ้า LCcover

ผลิตจากหนัง คุณภาพสูง หนา 1.3 มม. ทนทานและนิ่ม ใช้สวมทับถุงมือยางป้องกันไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงมือป้องกันไฟฟ้าภายในฉีกขาด Length (cm) 36
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ยางห้ามล้อ รหัส 92316

ยางห้ามล้อ wheel chock ทำจากยางธรรมชาติ น้ำหนัก 4.35 กิโลกรัม สีดำทนทาน อายุใช้งานยาวนาน ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สามารถเก็บไว้ในรถนำมาใช้งาน
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า