callcenter
หน้าหลัก >> ข่าวสาร >> รู้ไว้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน สวัสดิการและการควบคุม

รู้ไว้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน สวัสดิการและการควบคุม

สวัสดิการของพนักงานถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  เพื่อให้พนักงานได้มีสิทธิเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย จะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ในบทความนี้จะพาทุกท่านไปทราบถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ลองไปดูกันครับ

สวัสดิการและการควบคุม
1.สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50คนขึ้นไป ต้องให้นายจ้างจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อย 5คน
2.นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย และข้อบังคับนั้นอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการ ดังต่อไปนี้
                -วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
                -วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
                -หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด
                -วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
                -วันลาและหลักเกณฑ์การลา
                -วินัยและโทษทางวินัย
                -การร้องทุกข์
                -การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ
3.นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 10คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
                -วันและเวลาทำงาน
                -ผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
                -อัตราและจำนวนค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่ลูกจ้างแต่ละคนได้รับ เมื่อมีการจ่ายค่าจ้างใดๆให้แก่ลูกจ้าง ต้องให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในเอกสารไว้เป็นหลักฐาน
4.นายจ้างต้องเก็บรักษาทะเบียนลูกจ้างและเก็บเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างใดๆ ไว้ไม่น้อยกว่า 2ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างลูกจ้างแต่ละราย

การจัดสวัสดิการ

1.สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มี
                -น้ำดื่มสะอาด ไม่น้อยกว่า 1ที่ ต่อลูกจ้างไม่เกิน 40คน และเพิ่มขึ้นในอัตราส่วน 1ที่ต่อลูกจ้างทุกๆ 40คน เศษของ 40คน ถ้าเกิน 20คน ให้ถือเป็น 40คน
                -ห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดใน พรบ.การควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ
                -ห้องน้ำและห้องส้วม ต้องแยกกันสำหรับลูกจ้างชายและลูกจ้างหญิง กรณีลูกจ้างคนพิการ นายจ้างต้องจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมสำหรับคนพิการแยกไว้โดยเฉพาะ

2.สถานประกอบกิจการ นายจ้างต้องจัดให้มีสิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาล และการรักษาพยาบาล ดังต่อไปนี้
                2.1 ลูกจ้างตั้งแต่ 10คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลในจำนวนที่เพียงพอ

กรรไกร

แก้วยาน้ำ และแก้วยาเม็ด

เข็มกลัด

ถ้วยน้ำ

ที่ป้ายยา

ปรอทวัดไข้

ปากคีบปลายทู่

ผ้าพัดยืด

ผ้าสามเหลี่ยม

สายยางรัดห้ามเลือด

สำลี ผ้าก๊อซ

ผ้าพันแผล

ผ้ายางปลาสเตอร์ปิดแผล

หลอดหยดยา

ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม

ทิงเจอร์ไอโอดีน

โพวินโดน-ไอโอดีน

น้ำยาโพวินโดน-ไอโอดีน ชนิดฟอกแผล

ผงน้ำตาลเกลือแร่

ยาแก้ผดผื่นที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ

ยาแก้แพ้

ยาทาแก้ผดผื่นคัน

ยาธาตุน้ำแดง

ยาบรรเทาปวดลดไข้

ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก

ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

เหล้าแอมโมเนียหอม

แอลกอฮอล์เช็ดแผล

ขี้ผึ้งป้ายตา

ถ้วยล้างตา

น้ำกรดบอริคล้างตา

ยาหยอดตา


                2.2 สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200คนขึ้นไป ต้องมี
                                -เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาล ตาม 2.1
                                -ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยหนึ่งเตียงเวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน 1) ตามความจำเป็น
                                -มีพยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยหนึ่งคนตลอดเวลาทำงาน
                                -แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสองครั้ง และเมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหกชั่วโมงในเวลาทำงาน
                2.3 สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่หนึ่งพันคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี
                                                -เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาล 2.1
                                                -ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยสองเตียงเวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน 1) ตามความจำเป็น
                                -พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยสองคน
                                                -แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสามครั้ง และเมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสิบสองชั่วโมงในเวลาทำงาน
                                                -ยานพาหนะซึ่งพร้อมที่จะนำลูกจ้างส่งสถานพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลได้โดยพลัน

3.นายจ้างอาจทำความตกลงเพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลที่เปิดบริการตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงและเป็นสถานพยาบาลที่นายจ้างอาจนำลูกจ้างส่งเข้ารับการรักษาได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แทนการจัดให้มีแพทย์ได้ โดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย


ถุงมือหนังสำหรับสวมทับถุงมือยางกันไฟฟ้า LCcover

ผลิตจากหนัง คุณภาพสูง หนา 1.3 มม. ทนทานและนิ่ม ใช้สวมทับถุงมือยางป้องกันไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงมือป้องกันไฟฟ้าภายในฉีกขาด Length (cm) 36
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

แว่นตานิรภัย Strider I

แว่นตาเซฟตี้ แว่นตารุ่นมาตรฐาน น้ำหนักเบา เลนส์ผลิตจากโพลีคาร์บอเนต ต้านทานรังสี UV ขาแว่นสามารถ ปรับได้ถึง 4 ระดับด้วยกัน มีมาตรฐาน ANSI Z87+
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

มีดเซฟตี้แบบสปริง ด้ามพลาสติก รหัสสินค้า SK020

ด้ามมีดเซฟตี้ ใช้งานอเนกประสงค์ ตัวด้ามผลิตจากพลาสติกอย่างดี มีระบบสปริงเด้งกลับอัตโนมัติเมื่อเลิกใช้งาน และปลอดภัย เหมาะกับงานตัดแต่งคลีบ ลบคม ต่างๆ
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ชุดป้องกันสารเคมี limited-life

ชุดป้องกันสารเคมี limited-life ชุดfully encapsulating (type 1A) gas tight suit ผลิตจากวัสดุ Tycham TK จาก Dupont ป้องกันสารเคมีได้หลากหลายประเภท
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า