callcenter
หน้าหลัก >> ข่าวสาร >> แนวทางป้องกันอัคคีภัย เพื่อชีวิตและทรัพย์สิน

แนวทางป้องกันอัคคีภัย เพื่อชีวิตและทรัพย์สิน

อัคคีภัย หมายถึง ภัยอันตรายอันเกิดจากไฟที่ ขาดการควบคุมดูแล ทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ต่อ เนื่อง สภาวะของไฟจะรุนแรงมากขึ้นถ้าการลุกไหม้ที่มีเชื้อเพลิงหนุนเนื่อง หรือมีไอของเชื้อเพลิงถูกขับออกมามากความร้อนแรงก็จะมากยิ่งขึ้น สร้างความสูญเสียให้ทรัพย์สินและชีวิต

  1. จัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบมือถืออย่างน้อย 1 เครื่อง กรณีมีพื้นที่สถานบริการ หรือพื้นที่จัดงานตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป ขอความร่วมมือจัดให้มีเครื่องดับเพลิงเพิ่มอีกอย่างน้อย 1 เครื่อง ทุกระยะห่างไม่เกิน 20 เมตร และจัดให้มีทุกชั้นที่มีการจัดงาน สามารถมองเห็นและเข้าใช้สอยได้โดยสะดวก
  2. จัดให้มีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ที่สามารถส่งสัญญาณเตือนแจ้งครอบคลุมพื้นที่บริการ
  3. ติดตั้งแบบแปลนแผนผังอาคาร ซึ่งแสดงตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง ทางหนีไฟ ทางออก และประตูทางออก ไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน
  4. จัด ให้มีทางออกและทางหนีไฟ ให้เพียงพออย่างน้อย 2 ทาง และต้องเปิดออกได้โดยสะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีป้ายบอกทางสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ตลอดเวลา
  5. จัดให้มีระบบจ่ายไฟฟ้าสำรอง สำหรับระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ไฟฉุกเฉิน ป้ายบอกทางหนีไฟ
  6. ให้มีการควบคุมความจุคนของผู้ใช้บริการหรือผู้ที่เข้าร่วมงาน
  7. จัดให้มีผู้ดูแลระบบความปลอดภัยและการป้องกันภยันตรายจากอัคคีภัยตลอดเวลาที่เปิดบริการ
  8. ก่อนเปิดบริการหรือก่อนการจัดงานควรจัดให้มีการตรวจสอบเครื่องดับเพลิงหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา
  9. หลีกเลี่ยงการตกแต่งอาคาร สถานที่จัดงานรื่นเริงด้วยวัสดุตกแต่งที่ติดไฟง่าย หรือลามไฟเร็ว
  10. ห้ามจัดให้มีการละเล่น การแสดงที่มีการใช้อุปกรณ์ ของเล่น ที่ทำให้เกิดประกายไฟโดยเด็ดขาด
  11. ใน ระหว่างที่จัดงานหรือเปิดบริการ ควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ทางเข้าออกและทางหนีไฟ และข้อควรปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ผู้ใช้บริการทราบ ตามเวลาที่เหมาะสม
  12. อาคาร ที่มีสถานบริการหรือสถานที่จัดงานรื่นเริงอยู่ในอาคารให้ตรวจสอบการใช้งาน ของระบบป้องกันอัคคีภัยโดยรอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางหนีไฟที่ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง และต้องมองเห็นป้ายบอกทางหนีไฟได้ชัดเจนตลอดเวลา เพื่อระบายคนออกได้โดยปลอดภัย
  13. กรณี เกิดเหตุฉุกเฉินผู้ใช้บริการหรือผู้เข้าร่วมจัดงานรื่นเริงควรปฏิบัติตามคำ แนะนำของผู้ประกอบกิจการหรือผู้จัดงานอย่างเคร่งครัดตามที่มีการประชา สัมพันธ์ ให้ทราบ
  14. หลัง จากปิดบริการหรือหลังจากการเลิกจัดงานควรจัดให้มีการตรวจสอบอุปกรณ์เครื่อง มือหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่มีความปลอดภัย
  15. สถานบริการต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก.

อ้างอิง : http://www.shawpat.or.th


ถังจัดเก็บสารเคมี รหัส OP1

ผลิตจากโพลีเอธิลีน ทนต่อสารเคมีได้ หลายชนิด สามารถใช้เพื่อบรรจุถังที่เสียหายหรือรั่วไหลของสารเคมีในพื้นทีการทำงาน เก็บกักได้สูงสุด 340 ลิตร
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ตะแกรงป้องกันการหกล้น รหัส 28659

ตะแกรงป้องกันการหกล้น ตะแกรงวางถังน้ำมัน สารเคมี ฐานรองรับน้ำมัน ฐานรองรับสารเคมี ทำมาจากโพลีเอธิลีนที่ได้จากการรีไซเคิล 100% ทำให้ไม่เกิดความเสียหาย
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ตะแกรงป้องกันการหกล้น รหัส STP1SQ

รองรับสารเคมีได้มากถึง 43ลิตร ตามมาตรฐาน EPA ที่ต้องรองรับของเหลวรั่วไหลได้110% ของวัสดุที่เก็บ ตัวพาเลทแข็งแรง ทนทาน ปราศจากรอยรั่ว
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

รองเท้าเซฟตี้หุ้มส้นป้องกันไฟฟ้า รหัสWGS8010S

เป็นรองเท้านิรภัยป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ ช่วยลดการสะสมของประจุไฟฟ้า รองเท้านิรภัยหัวคอมโพสิต พื้นกันลื่น ทนน้ำมัน และมี Shock absorption ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน EN-ISO20345 และ SS513
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า