ตามกฎกระทรวงกาหนดมาตรฐานในการ บริหาร จัดการ และดาเนินการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทางานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตราย พ.ศ.2556 (อาศัย พรบ. คุ้มครองแรงงาน) เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทางานของลูกจ้างที่ทางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายนายจ้างต้อง ดาเนินการตามที่กฎกระทรวงฉบับนี้ กาหนดหลายประการ เช่น ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดบริเวณที่ลูกจ้าง ทำงานเกี่ยวกับสารอันตรายให้มีสภาพ และลักษณะ ดังนี้
(1) ถูกสุขลักษณะพื้นที่ปฏิบัติงานต้องเรียบสม่าเสมอ ไม่ลื่น
(2) มีระบบระบายอากาศแบบทั่วไป หรือแบบที่ทาให้สารเคมีอันตรายเจือจาง
(3) มีระบบป้องกันและกาจัดอากาศเสียโดยใช้ระบบระบายอากาศเฉพาะที่
ข้อ 11 ให้นายจ้างจัดให้มีสถานที่และ อุปกรณ์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ให้กับลูกจ้างที่ทางานเกี่ยวกับสารเคมี อันตรายตามรายการ ดังต่อไปนี้
(1) ที่ชาระล้างสารเคมีอันตราย ที่สามารถใช้ได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน อย่างน้อยต้องมีที่ล้างตาและฝักบัว ชาระล้างร่างกายจากสารเคมีอันตราย
(2) ที่ล้างมือและล้างหน้า ไม่ น้อยกว่า 1 ที่ ต่อลูกจ้าง 15 คน
(3) ห้องอาบน้าเพื่อใช้ชาระล้างร่างกายไม่น้อยกว่า 1 ห้องต่อลูกจ้าง 15 คน
(4) อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จาเป็นสาหรับการปฐมพยาบาลลูกจ้างที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีอันตราย
(5) อุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสมกับสารเคมีอันตรายแต่ละชนิด และเพียงพอสาหรับการผจญเพลิงเบื้องต้น
(6) ชุดทางานเฉพาะสาหรับลูกจ้างซึ่งทางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
ข้อ 27 ให้นายจ้างจัดให้มีระบบป้องกันและควบคุม เพื่อมิให้มีระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายใน บรรยากาศของสถานที่ทางานและสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายเกินขีดจากัดความเข้มข้นของสารเคมี อันตรายตามที่อธิบดีประกาศกาหนด
ลักษณะและประสิทธิภาพของฝักบัวอาบน้าฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามมาตรฐาน ANSI Z358.1-1998
1.น้ำที่ถูกปล่อยออกมาต้องมีความเร็วที่ไม่เป็นอันตรายต่อคนงาน ทั้งนี้ฝักบัวจะต้องปล่อยน้ำได้อย่างน้อย 75.7ลิตร/นาที (LPM) หรือ 20 แกลลอน/นาที (GPM) ที แรงดัน 30ปอนด์/ตารางนิ้ว (PSI) เป็นเวลาไม่น้อยกวา 15 นาที
2.อุปกรณ์การควบคุมปิด-เปิด(วาล์ว) ต้องเข้าถึงได้ง่ายและสามารถปล่อยน้ำได้ภายใน 1 วินาทีหรือน้อยกว่า
3.วาล์วน้ำต้องยังคงเปิดและรักษาอัตราการไหลของน้ำอย่างสม่าเสมอโดยไม่ต้องใช้มือของผู้ใช้งานบังคับจนกว่าจะปิดโดยตั้งใจ
4.ต้องมีป้าย ณ จุดติดตั้งให้เห็นได้อย่างชัดเจน
5.ฝักบัวนี้ต้องสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและรวดเร็ว มีระยะไม่เกิน 30 เมตร (100 ฟุต) จากจุดเสี่ยงและคนงานต้องสามารถไปถึงได้ ภายใน 10 วินาที เส้นทางที่ไปต้องโล่งไม่มีสิ่งกีดขวาง เป็นเส้นทางตรงที่สุดเท่าที่จะทาได้ และต้องมีแสงสว่างพอเพียงอย่างไรก็ตาม หากพื้นที่นั้น มีการใช้สารเคมีอันตรายสูง เช่น กรดแก่ ด่างแก่ หรือสารอื่นที่มีผลกระทบรุนแรงควรติดตั้งฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินให้ติดกับพื้นที่นั้นหรือให้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทาได้
6.จุดติดตั้งต้องอยูในพื้นที่ระดับเดียวกันกับพื้นที่ที่มีความเสียง (เช่น ทางที่จะไปถึงไม่ควรต้องลงหรือขึ้นไปชั้นอื่นหรือเป็นทางลาดขึ้น-ลง) 7.อุณหภูมิของน้ำควรรักษาให้คงที่และควรอยู่ระหว่าง 15 -35 °C ในกรณีที่เคมีทาให้เกิดการไหม้ที่ผิวหนัง(Chemical burn) ควรให้น้ำมีอุณหภูมิอยู่ที่ 15 °C และหากปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นหรือถูกเร่งที่อุณหภูมิใดอุณหภูมิหนึ่งควรศึกษาจาก MSDS หรือผู้จาหน่าย เพื่อขอข้อมูลอุณหภูมิน้ำที่จะใช้กบฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน
8.ตาแหน่งการติดตั้ง
- ฝักบัวควรอยู่ในระยะ 82 นิ้ว (208.3ซม.) - 96 นิ้ว (243.8 ซม.) จากระดับพื้น
- ที่ระดับ 60 นิ้ว (152.4 ซม.) สูงจากพื้นละอองน้ำจากฝักบัวต้องแผกว้างออกไปในระยะเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้วเป็นอย่างน้อยทั้งนี้ จุดศูนย์กลางของละอองน้ำดังกล่าวควรห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 16 นิ้ว
- คันชักเปิดวาล์วน้ำเข้าถึงได้ง่ายและไม่ควรสูงเกิน 69 นิ้ว (173.3 ซม.) จากระดับพื้น
วิธีการใช้ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน
เหมาะสาหรับพื้นที่กลางแจ้ง มีฝักบัวสาหรับจ่ายน้ำจากด้านบนเพื่อชาระล้างร่ายกายจากสารเคมี ซึ่งจะจ่ายน้ำได้โดยการใช้เท้าเหยียบหรือการใช้มือดึงอุปกรณ์ที่อยู่ข้างๆฝักบัว ทาให้สามารถชาระได้รวดเร็วในกรณีฉุกเฉิน(หากสารเคมีกระเด็นเข้าสู่ลาตัว แขน ขา ให้ดึงคันโยกฝักบัวให้สุดไปอยู่ตรงกลางฝักบัวเพื่อให้น้ำไหลผ่านชาระสารเคมีออก ห้ามถอดเสื้อผ้าก่อน เพราะ อาจทาให้สารเคมีไปโดนจุดอื่นๆ ตามร่างกายได้) พร้อมทั้งมีอ่างล้างตาที่ใช้มือผลักวาล์วน้ำด้วย (หากสารเคมีกระเด็นเข้าสู่ดวงตาหรือใบหน้ำ ให้เหยียบคันโยก หรือผลักคันโยกให้น้ำไหล แล้วใช้มือถ่างตาเพื่อให้น้ำไหลผ่านตาต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที) ควรมีพื้นที่ที่ป้องกันน้ำเสียไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะอาจทาให้สารเคมีที่ชาระปนเปื้อนกับไปน้ำเสียได้
เหตุผลที่ต้องใช้ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน
เนื่องจากผักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉินถูกออกแบบมาเพื่อชาระล้างสารเคมีที่ร่างกายเราได้รับสัมผัส ไม่ว่าจะเป็น ใบหน้า, ร่างกาย หรือดวงตา โดยการใช้มือผลักวาล์วน้ำหรือใช้เท้าเหยียบวาล์วน้ำ แทนการใช้ก๊อกน้ำแบบทั่วไป เพื่อให้สามารถเปิดน้าได้อย่างรวดเร็ว เมื่อต้องเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น ทาให้มั่นใจได้ว่าเราจะปลอดภัยมากขึ้นเมื่อต้องเกิดอุบัติเหตุ การบารุงรักษา 1.ควรจัดให้มีการเช็คระบบน้ำและทาความสะอาดทุกๆ สัปดาห์2.ปล่อยน้ำเพื่อชาระล้างตะกอนที่ตกค้างอยู่ตามท่อ3.ควรหาผ้าหรือวัสดุที่สามารถปิดคลุมบริเวณวาล์วจ่ายน้ำเพื่อไม่ให้ส่งสกปรก และแมลงเข้าไปวางไข่ได้