callcenter
หน้าหลัก >> ข่าวสาร >> ความปลอดภัยในงานก่อสร้างที่พนักงานทุกคนควรรู้

ความปลอดภัยในงานก่อสร้างที่พนักงานทุกคนควรรู้

งานก่อสร้างจัดเป็นงานที่ข้องเกี่ยวกับอันตรายตลอดเวลา ไม่ว่าจะมาจากอุปกรณ์ วัสดุ สิ่งก่อสร้างที่กำลังสร้าง จึงพูดได้ว่าพนักงานที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านก่อสร้าง จำเป็นต้องมีความระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา และงานประเภทนี้ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสวมใส่ชุดหรืออุปกรณ์ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นรองเท้านิรภัยหัวเหล็ก พื้นเหล็ก เพื่อป้องกันเศษตะปู เศษสังกะสีที่จะทำให้เกิดอันตราย หรือหน้ากากป้องกันฝุ่น สารเคมี หรือแว่นตาป้องกันเศษวัสดุกระเด็นเข้าตา หรือปลั๊กอุดหูที่ใช้ป้องกันแก้วหูจากเสียงก่อสร้างที่ดัง ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งจำเป็น วันนี้ admin ก็นำข่าวสารน่ารู้มาให้อ่านกัน

<span line-height:="" normal;"="">งานก่อสร้างในประเทศไทยได้ก้าวรุดหน้า และเพิ่มปริมาณขึ้นมาก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเงาตามการปฏิบัติงานในงานก่อสร้าง คืออุบัติเหตุซึ่งการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้ง ชีวิต และทรัพย์สินอย่างประมาณค่ามิได้ความสูญเสียจากงานก่อสร้างในปัจจุบันได้ทวี ความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกขณะ และมีคนงานจำนวนมากที่ยังเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากงานก่อสร้าง ดังนั้นการป้องกันอุบัติเหตุและการลดอุบัติเหตุ จึงเป็นเรื่องที่ต้องรีบเร่งและให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจังทั้งนี้เพื่อลด ความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่อาจจะเกิดขึ้น 

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ

        สิ่งที่ส่งผลให้ความถี่และความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง เพิ่มขึ้นคือการนำเอาเทคโนโลยีอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร อันทันสมัยมาใช้เพื่อทุนแรงและประหยัดเวลาแต่ในทางกลับกันความปลอดภัยในงาน ก่อสร้างไม่ได้วิวัฒนาการตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยรวมถึง ความปลอดภัยพื้นฐานในงานก่อสร้างยังถูกละเลย ขาดความสนใจและเอาใจใส่จากผู้รับเหมาและผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ อย่างจริงจังนอกจากนี้คนงานยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกความปลอดภัยในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องเหมาะสม อุบัติเหตุและโศกนาฏกรรมจึงยังคงเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่เช่นนี้

องค์ประกอบของความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
     งานก่อสร้างเป็นงานซึ่งมีกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินงานที่มากมายและ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอวิถีทางหนึ่งของการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง คือการจัดความปลอดภัยในงานก่อสร้างออกเป็น 
3 ส่วน คือ 

ความปลอดภัยในสถานที่
      สถานที่ก่อสร้าง หมายถึงอาณาบริเวณทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างมิใช่เฉพาะบริเวณที่กำลังดำเนิน
การ ก่อสร้างเท่านั้น แต่รวมไปถึงบริเวณที่จัดเก็บวัสดุ โกดังเก็บเครื่องมือ เครื่องจักร และอื่น ๆ เป็นต้น จึงควรมีข้อกำหนดและแนวปฏิบัติในสถานที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความ ปลอดภัยกับคนงานดังนี้

  1. การ ทำรั้วกั้นโดยรอบบริเวณก่อสร้างทั้งหมดเพื่อป้องกันผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามา ในเขตก่อสร้างถ้าเป็นอาคารสูงอยู่ใกล้ชุมชนนอกจากการทำรั้วกันแล้วควรทำ หลังคาคลุมทางเดินที่ติดรั้วกั้นนั้นด้วยเพื่อป้องกันเศษวัสดุตกใส่ผู้สัญจร ไปมาภายนอก
  2. ใน สถานที่ก่อสร้างต้องมีการแบ่งเขตก่อสร้างอย่างชัดเจนโดยแบ่งเขตที่พักอาศัย ออกจากบริเวณก่อสร้างที่จัดเก็บเครื่องมือ เครื่องจักร ที่เก็บวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้แล้วหรือยังไม่ใช้ (ออกเป็นระเบียบ
  3. สถาน ที่ที่อันตรายทุกแห่งในเขตก่อสร้าง ต้องมีป้ายสัญลักษณ์ หรือป้ายเตือนภัยต่าง ๆ หรือข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้จะเข้าไปในบริเวณดังกล่าวซึ่งป้ายสัญลักษณ์นี้ ต้องมีขนาดพอเหมาะและเห็นได้ชัดเจน ภาพแสดงและตัวอักษรต้องเป็นสื่อสากลที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ง่าย
  4. รอบตัวอาคารมีแผ่นกั้นกันวัตถุตกลงมาและมีตาข่ายคลุมอีกชั้น
  5. อาคารขณะก่อสร้างในที่มีช่องเปิดหรือที่ไม่มีแผงกั้น ควรทำราวกั้น และมีตาข่ายเสริมเพื่อป้องกันการตก

ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องจักร
      เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้างมีจำนวนมากมายตั้งแต่ขนาดใหญ่มาก เช่น ปั้นจั่น รถยก เครื่องตอกเสาเข็ม จนถึงขนาดเล็ก เครื่องเจียร สว่านไฟฟ้า ค้อน เป็นต้น อันตรายที่เกิดจากการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักร จึงมีมากตามจำนวนอุปกรณ์และจำนวนผู้ใช้ ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องจักรจึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งผู้ปฏิบัติ งานควรใช้อย่างถูกต้อง ดังเช่น

  1. การ ใช้ต้องไม่ผิดวัตถุประสงค์ของอุปกรณ์ หรือเครื่องมือ เครื่องจักรนั้น เช่น มักพบว่ามีการใช้ ปั้นจั่นไปใช้ในการดึงหรือลากของที่มีน้ำหนักมาก ๆ หรือการใช้ลิฟท์ส่งวัสดุในการขึ้นลงของคนงาน ซึ่งเป็นเรื่องไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง ในทางปฏิบัติการใช้อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรอย่างเหมาะสม และถูกต้องตามประเภทของงาน จะทำให้เกิดประสิทธิผล และไม่ประสบอันตรายจากการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรนั้น
  2. เครื่อง มือ เครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า หรือน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อควรปฏิบัติเครื่องมือ เครื่องจักรที่ต้องใช้ไฟฟ้านั้นต้องมีการเดินสายไฟอย่างปลอดภัย มีฉนวนหุ้มโดยตลอด และหากต้องทำงานใกล้กับบริเวณที่มีไฟฟ้าแรงสูงภายในรัศมี 3 เมตร ต้องแจ้งให้หน่วยงานของการไฟฟ้าทราบทุกครั้ง เพื่อจัดการป้องกันอันตรายซึ่งอาจเกิดขึ้น หรือบริเวณที่มีการเก็บเชื้อเพลิง ห้ามจุดไฟ หรือสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด
  3. เครื่อง มือ เครื่องจักรต้องมีการ์ด ระบบความปลอดภัย ห้ามถอดหรือปิดระบบความปลอดภัยดังกล่าวหากเครื่องมือเครื่องจักรใดไม่มี ควรจัดให้มีการ์ด และระบบความปลอดภัยอย่างเหมาะสมทันที
  4. ก่อนและหลังการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร ทุกครั้งต้องมีการตรวจสอบและซ่อมแซมแก้ไขก่อนหรือหลังการใช้ทุกครั้ง

ความปลอดภัยส่วนบุคคล
       สาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้างนั้นมาจากผู้ปฏิบัติงาน การควบคุมและการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นนั้น จำเป็นต้องให้ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณทำการก่อสร้างปฏิบัติให้ถูกต้องตาม กฎเกณฑ์และระเบียบ <ที่กำหนดขึ้นโดยเฉพาะแนวการปฏิบัติในงานก่อสร้างในเรื่องของ

  1. การ แต่งกายของผู้ปฏิบัติงานหรือคนงานควรเป็นชุดที่รัดกุมไม่ปล่อยชายเสื้อหรือ แขนเสื้อหลุดลุ่ย การใส่ผ้าถุง (คนงานหญิง) ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเกี่ยวสะดุด หรือการดึงเข้าไปในเครื่องจักรได้ รวมทั้งการไม่ใส่รองเท้าหรือใส่อย่างไม่เหมาสม เช่นรองเท้าแตะ เป็นต้น
  2. การ ละเลยหรือการไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมในงาน ก่อสร้างผู้ปฏิบัติงานทุกคนควรสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อย่างเหมาะสม เช่น หมวกนิรภัย ทุกคนควรจะสวมอยู่เป็นประจำ เข็มขัดนิรภัยเมื่อคนงานทำงานบนที่สูง สวมรองเท้ายางหุ้มแข็งและใส่ถุงมือยางในการผสมคอนกรีต เป็นต้น
  3. ห้าม ดื่มสุรา หรือเสพเครื่องดองของมึนเมา สิ่งเสพติด ห้ามเล่นหรือหยอกล้อกันห้ามเล่นหรือหยอกล้อกันในระหว่างการปฏิบัติงานอย่าง เด็ดขาดผู้ฝ่าฝืนควรได้รับการลงโทษ เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุอย่างคาดไม่ถึง
  4. จัด ให้มีการอบรมผู้ปฏิบัติงานให้ตระหนักถึงอันตราย วิธีการปฏิบัติอย่างปลอดภัย กฎระเบียบ ข้อบังคับและข้อปฏิบัติที่ควรทราบ และสิ่งที่สำคัญยิ่ง คือการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในคนงานทุกคนไม่ว่าจะปฏิบัติงาน อะไรก็ตามความปลอดปลอดภัยในการทำงานต้องมาเป็นอันดับแรกเสมอ
  5. ตรวจ สุขภาพคนงาน และตรวจประจำปีเพื่อทดสอบความพร้อมของร่างกายคนงานเพื่อเป็นการสกัดกั้นโรค จากการทำงานซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ สำหรับผู้ที่ต้องปฏิบัติงานภายใต้ความกดอากาศสูงต้องให้แพทย์ทำการตรวจ วินิจฉัยว่าแข็งแรงสมบูรณ์ และมีคุณสมบัติเหมาะสมก่อนเข้าปฏิบัติงานทุกครั้ง
  6. จัด ให้มีหน่วยงานปฐมพยาบาล และหน่วยฉุกเฉินภายในหน่วยก่อสร้าง เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ และเพื่อเป็นการระงับเหตุอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจทวีความรุนแรงไปยังบริเวณใกล้เคียงได้

ขอขอบคุณข่าวสารอ้างอิง : http://www.shawpat.or.th/ โดย สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย)


ตัวล็อคCircuit Breaker ขนาดใหญ่

ตัวล็อค Circuit Breaker ขนาดใหญ่ ชนิด Universal สามารถใช้กับ breaker ได้เกือบทุกประเภท ทำงานด้วยการหมุนเข้ากับตัวอุปกรณ์ให้แน่นและล็อคด้วยแม่กุญแจ
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

อ่างล้างตาฉุกเฉินชนิดเคลื่อนย้ายได้ รหัส STT100

ใช้งานง่ายเมื่อเปิดด้านหน้าออกน้ำจะไหลพุ่งออกทางฝักบัวทั้งสองข้างทันที โดยใช้แรงโน้มถ่วงของน้ำเอง ไม่ต้องต่อท่อประปา สามารถนำไปติดตั้งไว้ตามหน้างาน
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ถังป้องกันสารเคมีหกล้นสีเหลือง

Base Module YL ถังป้องกันสารเคมีหกล้น ถูกออกแบบมาให้ยึดถังได้ 2 ใบ ฐานรองเคลื่อนย้ายได้สะดวก เมื่อยังไม่มีถัง ระบบมีช่องรองรับการหกล้นแบบเปิดที่บริเวณใต้ฐาน
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

กล่องเก็บเอกสาร รหัส : JUM23304

กล่องพลาสติกสำหรับเก็บเอกสารสำคัญในบริเวณ ที่ทำงาน เช่น MSDS คู่มือการทำงาน รายชื่อผู้ติดต่อกรณีฉุกเฉิน ตัวกล่องแข็งแรงทนทาน ด้วย Polyethylene
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า