callcenter
หน้าหลัก >> ข่าวสาร >> ความสำคัญของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ตอน1

ความสำคัญของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ตอน1

สวัสดีครับ วันนี้Admin มีข่าวสารน่ารู้มาให้อ่านกัน เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล อันเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ลองไปดูกันครับ

ความสำคัญของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล   (Personal Protective Devices = PPD หรือ Personal Protective Equipment = PPE)

หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานสวมใส่ขณะทำงาน เพื่อป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสภาพ และสิ่งแวดล้อมการทำงาน การ ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีการป้องกัน อันตรายจากการทำงาน โดยทั่วไปจะยึดหลักการป้องกัน ควบคุมที่สิ่งแวดล้อมการทำงานก่อน ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย ส่วนบุคคลมาแทน

การเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ให้เกิดประสิทธิภาพนั้น ผู้รับผิดชอบควรยึดหลัก ดังนี้

  1. เลือกซื้อให้เหมาะสมกับลักษณะอันตราย ที่พบจากการทำงาน
  2. อุปกรณ์ที่เลือก ควรได้รับการตรวจสอบ และรับรองตามมาตรฐาน
  3. มีประสิทธิภาพสูง ในการป้องกันอันตราย และทนทาน
  4. มีน้ำหนักเบา สวมใส่สบาย ขนาดเหมาะสมกับผู้ใช้ และง่ายต่อการใช้
  5. มีให้เลือกหลายแบบ และหลายขนาด
  6. การบำรุงรักษาง่าย อาหลั่ยหาซื้อง่าย และไม่แพงเกินไป
  7. ให้ความรู้กับผู้ใช้ในเรื่องประโยชน์ของอุปกรณ์ป้องกันอันตราย วิธีการเลือกใช้ การสวมใส่ที่ถูกต้อง และการบำรุงรักษา
  8. มีแผนการชักจูงการใช้ การปรับตัวในการใช้ระยะแรก และส่งเสริมการใช้
  9. ให้รางวัลสำหรับผู้ใช้ที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ การใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
  10. มีปริมาณพอเพียงกับจำนวนผู้ใช้
  11. กรณีที่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลชำรุด ต้องเปลี่ยน หรือซ่อมแซมได้

 

ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

  1. อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection Devices)
  2. อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา (Eye and face protection devices)
  3. อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear protection devices)
  4. อุปกรณ์ป้องกันการหายใจ (Respiratory protection devices)
  5. อุปกรณ์ป้องกันลำตัว (Body protection devices)
  6. อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand protection devices)
  7. อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Foot protection devices)
  8. อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง

1. อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection Devices) สวม ไว้เพื่อป้องกันศีรษะจากการถูกชน หรือกระแทก หรือวัตถุตกจากที่สูง กระทบต่อศีรษะ ได้แก่ หมวกนิรภัย มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีขอบหมวกโดยรอบ และชนิดที่มีเฉพาะกระบังด้านหน้า

ส่วนประกอบของหมวกนิรภัย

ตัว หมวก ทำด้วยพลาสติก หรือไฟเปบอร์กลาส หรือโลหะ สายพยุง ประกอบด้วย สายรัดศีรษะ และสายรัดด้านหลังศีรษะ สามารถปรับได้เพื่อความสะดวกสำหรับผู้ใช้สายรัดค้าง 
แผ่นซับเหงื่อ ทำด้วยใยสังเคราะห์ สามารถซับเหงื่อ และให้อากาศผ่านได้ ผู้สวมจึงไม่ต้องถอดหมวกเพื่อซับเหงื่ออบ่อยๆ

1.1 หมวกนิรภัย แบ่งเป็น 4 ประเภท ตามคุณสมบัติการใช้งาน คือ

  • ประเภท A เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่น งานก่อสร้าง งานอื่นเพื่อป้องกันวัตถุ หรือของแข็งหล่นกระแทกศีรษะ วัสดุที่ใช้ทำหมวกประเภทนี้เป็นพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาส
  • ประเภท B เหมาะสำหรับการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับสายไฟแรงสูง วัสดุที่ใช้ทำหมวกคือ วัสดุสังเคราะห์ประเภทพลาสติก และไฟเบอร์กลาส
  • ประเภท C เหมาะสำหรับงานที่ต้องทำในบริเวณท่มีอากาศร้อน วัสดุทำจากโลหะ ไม่เหมาะใชักับงานเกี่ยวข้อง กับประแสไฟฟ้า
  • ประเภท D เหมาะสำหรับงานดับเพลิง วัสดุที่ใช้ทำหมวก เป็นอุปกรณ์วัสดุสังเคราะห์ประเภทพลาสติก และไฟเบอร์กลาส

ข้อควรปฏิบัติในการใช้หมวกนิรภัย และการบำรุงรักษา

  1. ตรวจสภาพความเรียบร้อยของหมวก ก่อนใช้งาน ถ้าไฃชำรุดไม่ควรนำมาใช้
  2. เมื่อ ใช้งานแล้ว ควรมีการทำความสะอาดเป็นระยะ ด้วยน้ำอุ่นและสบู่ ขณะล้างควรถอดส่วนประกอบออกทำความสะอาด ผึ่งให้แห้ง แล้วจึงประกอบเข้าไปใหม่
  3. ห้ามทาสีหมวกใหม่ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการต้านแรงไฟฟ้า และแรงกระแทกลดต่ำลง
  4. ไม่วางหมวกนิรภัยไว้กลางแดด หรือที่ที่มีอุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง

 

2. อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและตา (Eye and face protection devices)  ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น จากวัตถุ สารเคมีกระเด็นเข้าตา ใบหน้า หรือป้องกันรังสีที่จะทำลายดวงตา แบ่งเป็น

2.1 แว่นตานิรภัย (Protective spectacles or Glassess) มี 2 แบบ คือ

  • แบบไม่มีกระบังข้าง เหมาะสำหรับใช้งานที่มีเศษโลหะ หรือวัตถุกระเด็นมาเฉพาะทางด้านหน้า
  • แบบ มีกระบังข้าง เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีเศษโลหะ หรือวัตถุกระเด็นข้าง เลนส์ที่ใช้ทำแว่นตานิรภัย ต้องได้มาตรฐาน การทดสอบ ความต้านทาน แรงกระแทก

2.2 แว่นครอบตา (Goggles) เป็นอุปกรณ์ป้องกันตา ที่ปิดครอบตาไว้ มีหลายชนิด ได้แก่

  • แว่นครอบตาป้องกันวัตถุกระแทก เหมาะสำหรับงานสะกัด งานเจียระไน
  • แว่นครอบตาป้องกันสารเคมี เลนส์ของเว่นชนิดนี้ จะต้านทานต่อแรงกระแทก และสารเคมี
  • แว่นครอบตาสำหรับงานเชื่อมป้องกันแสงจ้า รังสี ความร้อน และสะเก็ดไฟจากงานเชื่อโลหะ หรือตัดโลหะ

2.3 กระบังป้องกันใบหน้า (Face shield) เป็นวัสดุโค้งครอบใบหน้า เพื่อป้องกันอันตรายต่อใบหน้า และลำคอ จากการกระเด็น กระแทกของวัตถุ หรือสารเคมี

2.4 หน้ากากเชื่อม เป็นอุปกรณ์ป้องกันใบหน้า และดวงตา ซึ่งใช้ในงานเชื่อม เพื่อป้องกันการกระเด็นของโลหะ ความร้อน แสงจ้า และรังสีจากการเชื่อม

2.5 ครอบป้องกันหน้า เป็น อุปกรณ์สวมปกคลุมศีรษะ ใบหน้า และคอ ลงมาถึงไหล่ และหน้าอก เพื่อป้องกันสารเคมี ฝุ่น ที่เป็นอันตราย ตัวครอบป้องกันหน้ามี 2 ส่วนคือ ตัวครอบ และเลนส์

 

ครอบป้องกันใบหน้า แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  • ครอบป้องกันหน้า ชนิดมีไส้กรองสารเคมี
  • ครอบ ป้องกันหน้าชนิดไม่มีไส้กรองสารเคมี แต่จ่ายอากาศเข้าไปโดยใช้ท่ออากาศบางชนิด อาจมีหมวกนิรภัยติดมาด้วย เพื่อป้องกันอันตรายที่ศีรษะ

 

3. อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear protection devices) เป็น อุปกรณ์ที่สวมใส่ เพื่อกั้นความดังของเสียง ที่จะมากระทบต่อแก้วหู กระดูกหู เพื่อป้องกันอันตรายที่มีต่อระบบการได้ยิน แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้

 

3.1 ชนิดสอดเข้าไปในรูหู (Ear plugs) มี หลายแบบ บางชนิดทำจากวัสดุที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างต่างๆ ได้ เมื่อปล่อยไว่สักครู่ มันจะขยายตัวเท่ากับขนาดรูหูของผู้สวมใส่ วัสดุที่ใช้ทำแตกต่างกันไป เช่น พลาสติก บาง โฟม เป็นต้น อุปกรณ์ป้องกันหูชนิดนี้ นิยมใช้กันมาก เนื่องจากราคาไม่แพง สะดวกในการเก็บ และทำความสะอาด สามารถลดเสียงลงได้ประมาณ 15-20 เดซิเบล วิธีการใส่อุปกรณ์ชนิดนี้เจ้าไปในรูหูคือ เมื่อจะใส่เข้าไปในหูขวา ให้ใช้มือซ้ายผ่านด้านหลังศีรษะ ดึงใบหูขวาขึ้น และใช้มือขวาหยิบอุปกรณ์ป้องกันหู สอดเข้าไปในรูหู ค่อยๆ หมุนใส่เข้าไปจนกระชับพอดี ส่วนการที่หูซ้าย ก็ใช้วิธีการเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น

 

3.2 ชนิดครอบหู (Ear Muffs) เป็น อุปกรณ์ป้องกันหูที่ครอบปิดหูส่วนนอก ทำให้สามารถกั้นเสียงได้มากกว่า ชนิดสอดเข้าไปในรูหู ประสิทธิภาพในการกั้นเสียงของอุปกรณ์ชนิดนี้ ขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง วัสดุกันเสียงรั่วรอบๆ ที่ครอบหู และวัสดุดูดซับเสียงในที่ครอบหู ปกติจะลดเสียงได้ประมาณ 20-30 เดซิเบล

อ่านข่าวสารต่อตอน2

อ้างอิง : ขอขอบคุณ wiboonproduct


ถาดรองสารเคมีป้องกันการหกล้น รหัส ST20

ผลิตจากวัสดุโพลีเอทธีลีน (Polyethylene) 100% สามารถดึงตะแกรงออกมาทำความสะอาดได้ เหมาะสำหรับวางภาชนะที่บรรจุสารเคมีขนาดเล็ก รองรับสารเคมีหกรั่วไหลได้ 22 ลิตร
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ประแจทองเหลือ รหัส JUM08805

อุปกรณ์เปิดฝาถังน้ำมันป้องกันการเกิดประกายไฟ ทนต่อการกัดกร่อน สามารถใช้ได้กับถังขนาด 2" หรือ 3/4" ที่ใช้กันทั่วไป ออกแบบด้ามจับให้เหมาะกับมือ
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ตู้เก็บสายดับเพลิง

ตู้เก็บสายดับเพลิง firecarbinet ตู้สีแดง ขนาดมาตรฐาน แข็งแรง ทนทาน เก็บสารดับเพลิงเวลาไม่ใช่งานได้ง่าย สะดวก สำหรับเก็บสายดับเพลิงใช้ในกรณีเกิดเพลิงไหม้
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

คัตเตอร์MARTOR รหัส 6960600

งานตัดหลากหลายประเภท ใช้คู่กับใบมีดรุ่น No.79 ใบมีดยาว 10 cm. หนา 0.50 mm. สามารถเปิดใบมีดได้ยาวถึง 7.8 cm.
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า