callcenter
หน้าหลัก >> ข่าวสาร >> ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบนั่งร้าน

ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบนั่งร้าน

     งาน ก่อสร้างโดยทั่วไปเน้นหนักเรื่องของการรับน้ำหนักที่ปลอดภัยโดยทั่วไปวิศวกร จะคำนึงและออกแบบการรับน้ำหนักความปลอดภัย แต่เฉพาะในเรื่องตัวอาคารเท่านั้น ส่วนประกอบในการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ส่วนประกอบ เพื่อเริ่มต้นในการทำงานสำหรับการให้เกิดเป็นอาคารขึ้นมาได้อยู่นอกเหนือ ความรับผิดชอบของวิศวกร โดยทั่วไปดังนั้นส่วนประกอบเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้เพื่อการดำเนินการดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้เกิดอันตรายขึ้น ดังนั้นมาตรการของรัฐ ฯ จึงได้กำหนดขึ้นเป็นกฎหมายเพื่อบังคับใช้แก่นายจ้างโดยทั่วไปสำหรับกฎหมาย ดังกล่าวซึ่งออกประกาศบังคับใช้ในรูปของกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน งานก่อสร้าง และยังมีกฎหมายอื่นๆ อีกหลายเรื่องซึ่งใช้เกี่ยวข้องกันอยู่

การรับน้ำหนัก

น้ำหนักไม่ว่าจะเป็นตัวอาคารหรือส่วนประกอบเครื่องมือ เครื่องใช้เพื่อการก่อสร้างให้เกิดเป็นตัวอาคารขึ้น คำว่า “น้ำหนัก” จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคิดถึงก่อนเพื่อความปลอดภัยในการดำเนินการทุก ขั้นตอนเกี่ยวข้องกับวัสดุ และพื้นดิน ซึ่งเป็นส่วนที่จะต้องรองรับน้ำหนักดังกล่าว สิ่งที่สำคัญ พื้นดินหรือวัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการดำเนินการงานนั้น จะต้องรับน้ำหนักให้มีความปลอดภัยได้อย่างไร

น้ำหนัก

คำว่า “น้ำหนัก” เป็นคำที่มีความหมายรวม ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วจะต้องมีความปลอดภัยโดยไม่มีการหักพัง ดังนั้นน้ำหนักเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องทราบความหมายในเรื่องของ SAFETY FACTOR (น้ำหนักที่ปลอดภัย) 

1.  น้ำหนักบรรทุก คือ น้ำหนักที่จะเพิ่มขึ้นกับสิ่งก่อสร้าง เช่น คน สิ่งของ หรือวัสดุอื่นๆ ที่นำขึ้นไปอยู่บนพื้นหรือบนอาคาร
     2.  น้ำหนักบรรทุกบนตัวอาคาร คือ น้ำหนักที่วิศวกรจะกำหนดให้รับน้ำหนักได้ตามที่กำหนด ซึ่งเราเรียกว่า Live Load 
     3.  น้ำหนักของตัวอาคาร คือ น้ำหนักรวมโครงสร้างที่ประกอบเป็นส่วนของอาคารทั้งหมด ซึ่งเราเรียกว่า DeadLoad
     4. การรับน้ำหนักของพื้น หมายถึง น้ำหนักของตัวอาคารที่กดลงพื้นดินที่พื้นดินสามารถรับน้ำหนักได้ที่ปลอคภัย ซึ่งเราเรียกว่า Bearing Capacity

อัตราส่วนความปลอดภัย (SAFETY FACTOR) ของการออกแบบ การรับน้ำหนัก สำหรับในเรื่องของการออกแบบการก่อสร้าง

ก.  พื้นดินเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบ ซึ่งให้ค่าความปลอดภัยที่กำหนดเป็น SAFETY FACTOR
     ข.  วัสดุในการก่อสร้างแต่ละชนิดที่ต้องกำหนด SAFETY FACTOR
     ค.  พื้นภูมิประเทศ(Location)พื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นมีผลกระทบจากภัยธรรมชาติเช่น น้ำท่วม ภูเขาไฟ พายุ ซึ่งกำหนด SAFETY FACTOR ได้แตกต่างกัน 

       ดังนั้น  สิ่งที่ควรจะทราบในหลักการใหม่ ๆ เช่น ความรู้เบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ที่จะตรวจความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เช่น นั่งร้าน หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับตัวอาคาร ซึ่งจะต้องรู้เป็นพื้นฐานเบื้องต้น

นั่งร้านที่กฎหมายกำหนดไว้ในการสร้างนั่งร้านแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

       1.  นั่งร้านที่ออกแบบโดยวิศวกรโยธา ก.ว.ได้กำหนดเป็นกฎหมายไว้ โดยให้อำนาจแก่วิศวกรเป็นผู้ออกแบบนั่งร้าน เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อการก่อสร้างได้ อย่างน้อยวิศวกรผู้นั้นจะต้องมีรูปแบบนั่งร้าน และรายการคำนวณไว้ให้เจ้าพนักงานตรวจความปลอดภัย เพื่อตรวจสอบ 

       2.  สำหรับนั่งร้านทีไม่มีวิศวกรเป็นผู้ออกแบบ กฎหมายได้กำหนดให้ใช้วัสดุ ตลอดจนกรรมวิธีต่าง ๆ ให้นายจ้างปฏิบัติเพื่อการสร้างนั่งร้าน 

3.  สำหรับนั่งร้านที่จะใช้งานสูงเกินกวjา 21 เมตรขึ้นไป เป็นหน้าที่ของนายจ้างจะต้องดำเนินการจัดหาวิศวกรโยธา ซึ่ง ก.ว.กำหนดการออกแบบนั่งร้านให้อย่างน้อยจะต้องมีรูปแบบ และรายละเอียดคำนวณการรับน้ำหนักของนั่งร้าน และรายละเอียดประกอบแบบนั่งร้าน เพื่อให้นายจ้างพักงานตรวจสอบได้ เช่นเดียวกับข้อ 1.

รายละเอียดทั่วไปประกอบแบบนั่งร้าน

ตามกฎหมาย วิศวกรหรือผู้ออกแบบจะต้องกำหนดรายละเอียดประกอบแบบนั่งร้านให้ครบถ้วน ตามกฎหมายนั่งร้านกำหนดไว้ กล่าวคือ การรับน้ำหนักบันได ราวบันได ชานพัก สิ่งปิดล้อมนั่งร้าน ผ้ารองรับใต้นั่งร้านกันของตก ส่วนยึดโยงอื่น ๆ เป็นต้น

การใช้ลูกจ้างทำงานบนนั่งร้าน หรือใต้นั่งร้าน

 อันตรายที่จะเกิดขึ้นกับลูกจจ้าง คนงาน ที่ทำงานอยู่บนนั่งร้าน หรือใต้นั่งร้านในเรื่องวัสดุตกจากที่สูง เช่น ไม้ เศษไม้ หิน วัสดุอื่น ๆ ตลอดจนเครื่องมือช่าง หรือเครื่องมือกล อาจจะตกจากที่สูงกว่าที่ลูกจ้างทำงานอยู่ ทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายของลูกจ้าง ดังนั้นการปฏิบัติงานของลูกจ้างตลอดเวลา นายจ้างจะต้องจัดหมวกนิรภัย หรือรองเท้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่ลูกจ้างไว้ เรียกว่า “อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล” ซึ่งกำหนดเป็นมาตรฐานให้ใช้ตามลักษณะและประเภทของงานที่กฎหมาย กำหนด

การซ่อมนั่งร้าน

นั่งร้านโดยทั่วไปเราจะพบเห็นว่า บางส่วนของเสานั่งร้านจะทรุดเอียงบางส่วนอาจจะแตกราวบางส่วนอาจจะขาดความ มั่นคง เนื่องจากวัสดุ เช่น ปอผุ หรือเปื่อย เป็นต้น จึงเป็นเหตุทำให้นั่งร้านขาดความแข็งแรง การซ่อมนั่งร้านและการหยุดการใช้นั่งร้าน จะต้องจัดให้มีการดำเนินการอย่างถูกต้อง
  
     พื้นฐานรับเสา นั่งร้านที่ถ่ายน้ำหนักลงพื้นดิน อาจทรุดต่ำลงถ้าเป็นเสานั่งร้านโลหะก็ควรที่จะใช้แม่แรง ดีดยกขึ้นแล้วต่อเสานั่งร้านให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของนั่งร้านให้ได้ระดับดัง เดิม

       วัสดุอื่น ๆ เช่น ไม้ ปอ ที่แตกร้าว หรือผุ จะต้องคัดออกเปลี่ยนใหม่ให้มีความแข็งแรง เหมือนนั่งร้านใหม่

       อุปกรณ์ต่าง ๆ ของนั่งร้านที่ชำรุด เช่น สิ่งปกปิดล้อมนั่งร้าน พื้นรองรับของกันตกจากที่สูงใต้นั่งร้าน ราวทางเดินบนนั่งร้าน ฯลฯ ที่ชำรุดเสียหายไปจะต้องจัดเปลี่ยนใหม่โดยทันที

การรักษาความสะอาดบนนั่งร้าน ตลอดจนการบรรทุกน้ำหนักบนนั่งร้าน จะต้องดูแลรักษา เมื่อเลิกงานในแต่ละวันให้สะอาด น้ำหนักบรรทุกบนนั่งร้านจะต้องบรรทุกได้ไม่เกิน 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และจะต้องไม่เป็นน้ำหนักเฉลี่ยซึ่งวางไว้เป็นช่วง

น้ำหนักจร

น้ำหนักจรที่เกี่ยวข้องกับนั่งร้าน หมายถึง การเกิดแรงจากพายุที่ทำให้วัสดุอาจพังทลายได้ หรืออันตรายจากภัยธรรมชาติเช่น ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ซึ่งจะต้องไม่ให้มีลูกจ้างคนงานอยู่ปฏิบัติงานในขณะนั้น

ข้อพิจารณาในการออกแบบนั่งร้าน

  นั่งร้านแต่ละประเภทยอมมีความเหมาะสมในการใช้งานเฉพาะอย่างตามสภาพการก่อ สร้าง ผู้ดำเนินการก่อสร้างจะต้องเลือกประเภทให้เหมาะสมกับแต่ละงาน เช่น นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว นั่งร้านเสาเรียงคู่ นั่งร้านชนิดแขวน นั่งร้านสำหรับงานซ่อมแซม เป็นต้น 

การพิจารณาออกแบบหรือเลือกใช้นั่งร้าน มีข้อควรพิจารณาคือ

          1.  สภาพสถานที่ และความเหมาะสมกับสถานที่
          2.  น้ำหนักบรรทุกที่ใช้งาน
          3.  ความสะดวกในการติดตั้ง และรื้อถอน
          4.  ความปลอดภัย
          5.  ความประหยัด

          ในปัจจุบันมีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ได้ออกประกาศกำหนดให้การออกแบบนั่งราน ทำโดยผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามที่คณะกรรมการควบคุมประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ตามพระราชบัญูญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ.2512 กำหนด หากมิได้ออกแบบโดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว ผู้ดำเนินการก่อสร้างจะต้องก่อสร้างนั่งร้านให้เป็นไปตามข้อกำหนดขั้นต่ำ ตามประกาศที่กระทรวงมหาดไทย กำหนดไว้

          ในส่วนของนั่งร้านทั่ว ๆ ไปนั้น จำเป็นต้องมีแบบที่มาตรฐาน ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยที่จะใช้งานเป็นหลัก นั่งร้านเหล่านั้นควรมีลักษณะ ดังนี้

          -  สำหรับนั่งร้านที่ทำด้วยไม้ การออกแบบเพื่อรับน้ำหนัก ควรออกแบบไว้สูงสุด 4 เท่าของน้ำหนักที่จะใช้งานจริง
          -  การใช้นั่งร้านนั้นไม่ว่าจะใช้งานเมื่อใดก็ตาม ให้ใช้อุปกรณ์ชิ้นส่วนชนิดเดียวกัน อย่าใช้ผสมผสานกัน
          -  ฐานของนั่งร้านจะต้องมั่นคง และวางอยู่ในลักษณะสมดุลย์ อย่าใช้พวกเศษวัสดุต่าง ๆ เช่น เศษอิฐ เศษไม้ รองขานั่งร้าน
          -  นั่งร้านควรมีการโยงยึด ผูกติด หรือค้ำยันกับตัวอาคาร เพื่อป้องกันการ เอน ล้ม
          -  นั่งร้านที่สูงกว่า 2.00 เมตร จะต้องมีราวกันตก
          -  นั่งร้านที่สร้างด้วยไม้จะต้องใช้ไม้ที่ไม่ผุเปื่อย ไม่มีรอยร้าว หรือชำรุดอื่นๆ ที่จะทำให้ขาดความแข็งแรงทนทาน
          -  การทำนั่งร้านแบบเสาเรียงเดี่ยว กรณีที่ใช้ไม้ไผ่เป็นเสาควรตั้งให้ห่างกันไม่เกิน 1.50 เมตร ให้ใช้ไม้ไผ่ทำคานผูกติดกับเสาทุกต้น เมื่อตั้งเสาแล้วใช้ไม้ไผ่ทะแยงมุม ไม่เกิน 45 องศา กับแนวราบ

          ที่กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของแบบนั่งร้าน ซึ่งควรปฏิบัติกันในงานก่อสร้าง ซึ่งรายละเอียดอาจศึกษาได้จาก ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง(นั่งร้าน)

          นอกจากนี้จะต้องมีการบำรุง ดูแลรักษาสภาพการใช้งานของนั่งร้านอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยนั่งร้านทุกชนิดจะต้องมีการตรวจตราทุกอาทิตย์ หากมีพายุฝน แผ่นดินไหว หรือเหตุที่ทำให้นั่งร้านเสียสมดุลย์ หรือคลาดเคลื่อนไป ต้องมีการตรวจสภาพเสมอ

  และที่สำคัญู คือ พนักงานทุกคนจะต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น หมวกนิรภัยบางครั้งอาจต้องใช้เข็มขัดนิรภัยด้วย

หลักการในการออกแบบนั่งร้าน

1.  เลือกชนิดของนั่งร้านให้เหมาะสมกับอาคาร และความสะดวกในการทำงาน เช่น อาคารสูง ๆ ควรใช้นั่งร้านเหล็กเสาเรียงคู่ อาคารเตี้ย ๆ การใช้งานในช่วงระยะสั้น ๆ ควรใช้ไม้ไผ่เสาเรียงเดี่ยว หรืออาจจะผสมดัดแปลง เพื่อความสะดวกในการสร้าง หรือประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ควรอยู่ในดุลยพินิจของวิศวกร

       2.  คิดหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในชั้นต่าง ๆ ของนั่งร้าน โดยคิดน้ำหนักของนั่งร้านให้เป็นไปตามกฎกระทรวงมหาดไทย เช่น 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

       3.  การออกแบบฐานรองรับ สมมุติว่า Bearing ในกรุงเทพมหานครใช้ 2 ตันต่อตารางเมตร ในกรณีฐานแผ่ ไม่สามารถรับน้ำหนักนั่งร้าน เสาต้องออกแบบเป็นตั้งบนเข็ม ค่า C=600 กิโลกรัมต่อตารางเมตร สำหรับดินในกรุงเทพ ฯ

การสร้างฐานนั่งร้าน

  ฐานรองรับนั่งร้านควรพิจารณาถึงความมั่นคงแข็งแรงของดินที่จะรองรับนั่งร้าน ว่าแข็งแรงเพียงพอที่จะรองรับน้ำหนักบรรทุกที่ถ่ายลงมาจากเสานั่งร้าน โดยมีส่วนความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ ขนาดของฐานควรออกแบบให้สัมพันธ์กับความสามารถของดินที่จะรับน้ำหนัก เช่น ดินเหนียว ที่มีความสามารถในการรับน้ำหนัก 2  ตันต่อตารางเมตร โดยมีส่วนความปลอดภัย 2 ตัน หากน้ำหนักจากเสานั่งร้านรวมกันแล้วได้ 1 ตัน ก็ควรจัดขนาดฐานให้มีพื้นที่รวม 1 ตารางเมตรเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ได้ส่วนความปลอดภัยในการรับน้ำหนัก 2 ตัน เป็นต้น หากไม่สามารถทำได้เนื่องจากเหตุผลใด เช่น สถานที่ไม่อำนวย หรือสภาพดินอ่อนก็ควรตอกเสาเข็มรองรับให้มีจำนวนเพียงพอ วัสดุที่ใช้รองรับเป็นฐานนั่งร้านควรออกแบบให้แรงเลื่อนได้พอเพียง และไม่แอ่นตัวเมื่อรับน้ำหนัก ในกรณีทีใช้ฐานแผ่วางบนดิน ควรลอกหน้าดินออกเสียก่อน

           ความแข็งแรงของฐานรองรับควรออกแบบให้มีความแข็งแรงเท่า ๆ กัน หากจุดใดจุดหนึ่งมีความแข็งแรงด้อยกว่า อาจทำให้เกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน จนอาจเกิดการวิบัติได้

 

                                                                                                       ขอบคุณข้อมูลจาก thaisafetywork และ oshthai.org


โซ่พลาสติก รหัส OTCHAIN

โซ่พลาสติกสำหรับกั้นเขต มีน้ำหนักเบา ทนทาน ประหยัด และรักษาง่าย สามารถใช้งานได้ ในกลางแจ้ง และภายนอก จัดเก็บได้ง่ายแค่ม้วนกลับ มีขนาด 6 MM และ 8 MM ความยาว 25 M. ต่อม้วน
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

กระป๋องจ่ายของเหลวไวไฟ และสารละลาย รหัส JUM10208

กระป๋องจ่ายของเหลวไวไฟ และสารละลาย ที่ไวไฟ ปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดการระเบิด ผลิตจาก Ryton® และ ทองเหลือง ทนทาน ต่อสารเคมี
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

รองใน 6 จุดแบบปรับหมุน

รองใน 6 จุดแบบปรับหมุน เป็นอะไหล่ และอุปกรณ์เสริม ใช้กับหมวกนิรภัย ใช้กับหมวกนิรภัย ในการรัดคาง
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ตู้จัดเก็บสารละลาย รหัส 891202

ตู้จัดเก็บสารละลาย รหัส 891202 1 ประตู ไม่เปิดอัตโนมัติ เหมาะสำหรับตั้งไว้ในห้องปฏิบัติการเคมี หรือห้องแล็บทดลองในงานทดลองต่างๆ ความจุ 12 แกลลอน
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า