callcenter
หน้าหลัก >> ข่าวสาร >> อันตรายจาก ARC FLASH

อันตรายจาก ARC FLASH

ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันและในสถานประกอบการ และไฟฟ้ายังเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดอุบัติเหตุตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อย จนเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต อันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

1.ช๊อก หรือไฟฟ้าช๊อตหรือไฟดูด คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านส่วนของร่างกาย อาจรู้สึกเพียงเล็กน้อย ส่งผลต่อกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ผิวหนังไหม้ จนถึงหัวใจหยุดเต้น

2. ไฟอาร์ค (Arc Flash)  คือการดิสชาร์จไฟฟ้าผ่านก๊าซ หรือการเบรกดาวน์ผ่านอากาศ โดยความรุนแรงจากอาร์คจะสัมพันธ์กับพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ กระแส แรงดันและพลังงาน อันตรายจากไฟอาร์ค จะปล่อยรังสีความร้อนออกมาพร้อมกับแสงจ้า ไฟอาร์คที่เกิดขึ้นจะมีเปลวไฟที่มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจสูงถึง 35,000 องศาฟาเรนไฮต์ (19,426 องศาเซลเซียส) สามารถทำให้เกิดการไหม้ได้ เป็นอันตรายต่อบุคคลและทรัพย์สิน โลหะหลอมละลาย แผลไหม้จากประกายไฟ

 

3. ระเบิด เมื่อเกิดอาร์คไฟฟ้าขึ้น อากาศบริเวณโดยรอบจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างทันทีทันใด ทำให้อากาศเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความดันสูงประมาณ 100-200 ปอนด์ต่อตารางฟุต ความดันดังกล่าวสามารถทำให้เกิดการระเบิดได้ ซึ่งการอาร์คแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องเกิดการระเบิดเสมอไป แต่เมื่อเกิดการระเบิดแล้วส่วนใหญ่ผู้ประสบอุบัติเหตุอาจได้รับบาดเจ็บทางกายภาพอย่างรุนแรง จนถึงเสียชีวิตได้ ซึ่งทั้งหมดนี้อาจจะเกิดเหตุเพียงช่วงวินาทีเดียวเท่านั้น

ความเสี่ยงอันตรายจากไฟอาร์ค (Arc Flash) สามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะที่ปฏิบัติงานกับไฟฟ้า ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้ประกอบการที่ต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมที่สุดกับการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

 

มาตรฐานความปลอดภัย

ในกฎหมายความปลอดภัยของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ OSHA มาตรา CFR 1910.269 และ NFPA 70E  ตอนหนึ่งระบุไว้ว่า “ลูกจ้างจะต้องสวมเสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติต้านทานเปลวไฟ เมื่อเข้าไปในพื้นที่ใดก็ตามที่มีความเสี่ยงจะได้รับอันตรายจากไฟอาร์ค” มีข้อมูลรายละเอียดด้านการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยและการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นในทำงานเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน สถานีจ่ายกระแสไฟฟ้า เครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า ฯลฯ ทั้งการติดตั้งอุปกรณ์ การซ่อมบำรุง การรื้อทำลาย รวมถึงการปฏิบัติงานที่มีแนวโน้มจะสัมผัสตัวนำและวงจรไฟฟ้า แบ่งระดับอันตราย/ความเสี่ยง [Hazard Risk Category (HRC) Classification] ตามลักษณะการทำงาน อุปกรณ์ที่ใช้ปริมาณแรงดันไฟฟ้า (โวลต์) ลัดวงจร พลังงานปล่อยออกมา รวมถึง ระยะเวลาเกิดการอาร์ค กำหนดชนิดเสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล [Protective Clothing and Personal Protective Equipment (PPE)] สำหรับใช้ปกป้องอันตราย/ความเสี่ยงในแต่ละระดับ HRC หน่วยวัดพลังงานเกิดจากไฟอาร์ค ได้แก่ “แคลอรี” (Calories) พลังงานเพียง 1-2 แคลอรี่ต่อตารางเซนติเมตรสามารถทำให้เกิดการไหม้ระดับที่สอง (Second-degree Burn) ที่ตัวช่างไฟฟ้าหรือช่างซ่อมบำรุงได้แล้ว อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลหรือเสื้อผ้าป้องกันเปลวไฟอาจเลือกให้เกินระดับ HRC แต่จะต้องไม่ต่ำกว่า HRC ของแต่ละงานที่ระบุไว้

 

ถุงมือหนังสำหรับสวมทับถุงมือยางกันไฟฟ้า LCcover

ผลิตจากหนัง คุณภาพสูง หนา 1.3 มม. ทนทานและนิ่ม ใช้สวมทับถุงมือยางป้องกันไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงมือป้องกันไฟฟ้าภายในฉีกขาด Length (cm) 36
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ตะแกรงป้องกันการหกล้น รหัส STP2DL

รองรับสารเคมีได้มากถึง 130ลิตร ตามมาตรฐาน EPA ที่ต้องรองรับของเหลวรั่วไหลได้110% ของวัสดุที่เก็บ ตัวพาเลทแข็งแรง ทนทาน ปราศจากรอยรั่ว วัสดุ Polyethylene ทนทานต่อน้ำมัน
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ชุดหมีพีวีซีเต็มตัว

ชุดหมีพีวีซีเต็มตัวปลายแขนขาเป็นยางยืด รหัส WSCOAPVC01 เป็นชุดพีวีซีป้องกันสารเคมี ชุดหมีพีวีซีเต็มตัว ปกป้อง 2 ชั้นด้วยซิบด้านใน กระดุมด้านนอกส่วนแขน
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ตู้จัดเก็บของเหลวไวไฟ รหัส 890500

ตู้จัดเก็บสารเคมี ตู้เซฟตี้ 2 ประตู ไม่สามารถปิดอัตโนมัติ ผลิตจากเหล็กคุณภาพดีหนา 1 mm. ความจุ 24 aerosal cans ชั้นวางของ 2 ชั้น สามารถใช้งานได้นานนับ 10
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า