ก่อนจะทราบความสำคัญ เรามารู้จักเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยหรืออาจจะเคยได้ยินคนพูดถึง จป. โดยจอปอ ชื่อเต็มๆคือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน มีหน้าที่ในการดูแลด้านความปลอดภัยของพนักงาน รวมทั้งตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฏหมายความปลอดภัย รวมทั้งให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัย พร้อมกับวิเคราะห์งานเพื่อบ่งชี้อันตราย เป็นต้น นี้เป็นตัวอย่างหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ลองไปชมกันว่าตำแหน่งหน้าที่ของจป.มีอะไรบ้าง ลองไปอ่านรายละเอียดกันครับ
ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
1.จป.ระดับหัวหน้างาน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
1.1.ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์
1.2.ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ ตามที่ จป.บริหารมอบหมาย
1.3.ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัย
1.4.สอนวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้าง
1.5.ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย ร่วมกับ จป.และรายงานผลต่อนายจ้าง
1.6.รายงานการประสบอันตรายต่อนายจ้าง และแจ้ง จป.หรือหน่วยงานความปลอดภัย
1.7.กำกับ ดูแล การใช้อุปกรณ์ PPE
1.8.วิเคราะห์งานเพื่อค้นหาความเสี่ยง ร่วมกับจป.
1.9.ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัย
2.จป.ระดับบริหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
2.1.กำกับ ดูแล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทุกระดับ
2.2.กำกับ ดูแล และติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้าง
2.3.เสนอแผนงาน โครงการด้านความปลอดภัยในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
2.4.ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ให้เป็นไปตามแผนงาน
3.จป.ระดับเทคนิค มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
3.1.ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฏหมายความปลอดภัย
3.2.ดำเนินการจัดทำรายงานการประสบอันตราย
3.3.รวบรวมสถิติจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะการประสบอันตราย
3.4.ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ ตามที่นายจ้างมอบหมาย
3.5.ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัย
3.6.วิเคราะห์งานเพื่อบ่งชี้อันตราย
4.จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
4.1.ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย
4.2.รวบรวมสถิติวิเคราะห์ข้อมูล ทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย
4.3.วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย
4.4.วิเคราะห์แผนงานโครงการมาตรการ
4.5.ตรวจประเมินตามแผน
4.6.ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย
4.7.แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้าง
4.8.ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัย
4.9.ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ ตามที่นายจ้างมอบหมาย
5.จป.ระดับวิชาชีพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
5.1.ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฏหมายความปลอดภัย
5.2.วิเคราะห์การประสบอันตราย
5.3.จัดทำรายงานการประสบอันตราย
5.4.วิเคราะห์แผนงานโครงการมาตรการ
5.5.แนะนำ ฝึกสอน อบรม ลูกจ้าง
5.6.กำหนดมาตรการป้องกันหรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย
5.7.ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อม
5.8.ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัย
5.9.ตรวจประเมินตามแผน
5.10.ประเมินความเสี่ยง
5.11.วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย
ข้อมูลโดย บริษัท พีดีเอส อินเตอร์แนชชั่นแนล (ประเทศไทย) ผู้จัดจำหน่ายและให้คำปรึกษาด้านอุปกรณ์เซฟตี้ และอุปกรณ์ป้องกันอันตราย เบอร์โทรศัพท์ 02 361 8191
ชุดล้างตาฉุกเฉินชนิดเคลื่อนย้ายได้ OTST200วัสดุโพลีเอธีลีน สามารถตั้งพื้นหรือแขวนติดผนังได้ บรรจุน้ำได้ 9 แกลลอน (34ลิตร) มีประโยชน์ในกรณีที่ต้องออกไปปฏิบัติ งานนอกสถานที่ ซึ่งอาจจะมีสิ่งปนเปื้อน และอาจจะมีโอกาสกระเด็นเข้าตา |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |
สายรัดคางยางยืดสายรัดคางยางยืด เป็นอะไหล่ และอุปกรณ์เสริม ใช้กับหมวกนิรภัย ใช้กับหมวกนิรภัย ในการรัดคาง |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |
ถังโพลีเอทิลีนจัดเก็บสารเคมีถังโพลีเอทิลีน รหัส 14160 และ รหัส 14065 ทนต่อสารเคมีเหมาะสำหรับการเก็บสารเคมีกัดกร่อนไวไฟ ถังนิรภัยประเภทไม่ใช้โลหะแบบ Type I ผลิตโดยเอทิลีนความหนาแน่สูง |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |
รองใน 6 จุดแบบปรับเลื่อนรองใน 6 จุดแบบปรับเลื่อน เป็นอะไหล่ และอุปกรณ์เสริม ใช้กับหมวกนิรภัย ใช้กับหมวกนิรภัย ในการรัดคาง |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |