เหตุการณ์เพลิงไหม้ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะในสถานประกอบการทุกแห่ง แต่เราจะมีวิธีการป้องกันและรับมืออย่างไร วันนี้ทางพีดีเอสจะขอพาทุกท่านไปเรียนรู้สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ วิธีการป้องกัน วิธีการรับมือ ลองไปอ่านบทความกันครับ
สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้
1.พฤติกรรมของพนักงาน เช่น การจุดบุหรี่ในสถานที่ทำงาน และการทิ้งก้นบุหรี่ที่ดับไม่สนิท
2.ไอระเหยจากสารปนเปื้อนที่ติดไฟได้ กระจายออกมาจากพื้นที่ควบคุมสารเคมี ซึ่งอาจเกิดจากความประมาทที่ปิดตู้ป้องกันสารเคมีไม่มิดชิด
3.เกิดจากสายไฟฟ้าที่ชำรุด ไม่ได้รับการซ่อมแซม ซึ่งระบบไฟฟ้าเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนเครื่องจักร แต่ถ้ามีสายไฟเกิดชำรุด หรือขั้วทองแดงไม่ได้คุณภาพ แล้วถูกหลอมละลาย อาจทำให้เกิดประกายไฟได้
4.เครื่องจักรชำรุดจนเกิดความร้อนสูง ซึ่งอาจเกิดระเบิดสร้างความเสียหายได้
5.สะเก็ดไฟจากการเชื่อมงานในพื้นที่ปฏิบัติการ
วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุเพลิงไหม้
1.ออกนโยบายและบทลงโทษของการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด เช่น ไม่ให้สูบบุหรี่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน
2.มีการจัดพื้นที่สูบบุหรี่เฉพาะให้พนักงาน โดยห่างจากพื้นที่ปฏิบัติงาน อยู่ในที่โล่งและมีอุปกรณ์ดับเพลิงตั้งอยู่
3.สำรวจสายไฟ ปลั๊กไฟ ระบบไฟ ว่ามีการชำรุดหรือมีสายตรงไหนขาดหรือไม่ ถ้ามีต้องทำการปรับปรุงแก้ไขทันที
4.เมื่อพบเครื่องจักรชำรุด ต้องประกาศห้ามใช้งานเครื่องจักรตัวนั้นทันที และดำเนินการแก้ไขให้เสร็จสิ้น
วิธีเตรียมการรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้
1.มีการอบรมพนักงานให้มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง ถังดับเพลิง
2.ต้องมีการฝึกซ้อมหนีไฟทุก 6เดือนหรือ 1ปี เพื่อให้พร้อมเสมอสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดคิด
3.ตั้งถังดับเพลิงไว้ตามจุดเสี่ยงต่างๆให้เพียงพอ เพื่อใช้ในการบรรเทาเหตุการณ์เพลิงไหม้
4.มีป้ายหนีไฟประจำจุดต่างๆ เพื่อป้องเส้นทางสำหรับอพยพหลบหนีออกจากตัวอาคาร
5.มีการสอนปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยชีวิตเมื่อเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้
ในสถานประกอบการทุกแห่งย่อมมีคนหลากหลายประเภท ทั้งคนที่เคร่งครัดในแนวทางปฏิบัติงาน และคนที่ไม่สนใจในนโยบายใดๆของบริษัท ฉะนั้น การจับตาดูพนักงานและเรียกพนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามมาตักเตือน ให้ใบเตือน จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อพนักงานคนนั้นได้
ข้อมูลโดย บริษัท พีดีเอส อินเตอร์แนชชั่นแนล (ประเทศไทย) ผู้จัดจำหน่ายและให้คำปรึกษาด้านอุปกรณ์เซฟตี้ และอุปกรณ์ป้องกันอันตราย เบอร์โทรศัพท์ 02 361 8191
ชุดพนักงานดับเพลิงมาตรฐาน NFPAการประกบติดกันของผ้าชั้นในและผ้าชั้นนอก เป็นแบบถอดแยกกันได้ ผ้าชั้นกันความชื้นและชั้นกันความร้อนยึดติดกับผ้าชั้นนอกโดยใช้กระดุมทองเหลืองจำนวนอย่างน้อย 12 เม็ด |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |
หน้ากากเชื่อมชนิดประกอบหมวกนิรภัยหน้ากากเชื่อมชนิดใช้ประกอบหมวกนิรภัย สามารถประกอบเข้ากับหมวกได้ ผลิตจากพลาสติกทนความร้อน มาตรฐาน ANSI Z87.1 และมาตรฐาน EN 175 S |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |
ตะแกรงป้องกันการหกล้น รหัส 28659ตะแกรงป้องกันการหกล้น ตะแกรงวางถังน้ำมัน สารเคมี ฐานรองรับน้ำมัน ฐานรองรับสารเคมี ทำมาจากโพลีเอธิลีนที่ได้จากการรีไซเคิล 100% ทำให้ไม่เกิดความเสียหาย |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |
เข็มขัดนิรภัยกันตกเต็มตัวชนิดห้าจุดยึดเข็มขัดเซฟตี้ เข็มขัดนิรภัยกันตกเต็มตัว ชนิดห้าจุดยึด สำหรับงานทุกชนิด ได้แก่ งานปีนเสาไฟฟ้า และงานประเภทอื่นๆ มีมาตรฐาน EN361 EN358 EN813 |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |