ปั่นจั่นถือว่าเป็นเครื่องจักรที่สำคัญมากในงานก่อสร้าง ซึ่งใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุที่มีน้ำหนักมากและแข็งแรง ปั่นจั่นเคลื่อนที่หมุนรอบตามทิศทาง ทำให้การทำงานง่ายยิ่งขึ้น วันนี้ทางพีดีเอสจึงจะพาผู้อ่านไปรู้จักกับปั่นจั่นในงานก่อสร้างกัน
ปั่นจั่นประกอบตัวเองอย่างไง
เคยสงสัยกันรึเปล่าครับว่า ปั่นจั่นที่สูงและใหญ่ขนาดนี้ จะติดตั้งหรือยกมาอย่างไรกัน การประกอบปั่นจั่นมีส่วนประกอบหลัก 2ส่วน นั้นคือ ส่วยที่เป็นเสาตั้ง (tower mast) ติดตั้งโดยต่อเหล็กที่ละชิ้นส่วนขึ้นไป หรือเรียกว่ายกตัวเองขึ้นไป และส่วนที่เป็นแนวนอน(crane runway) ติดตั้งโดยใช้เครนยกขึ้นไปติดตั้ง
ชนิดของปั่นจั่น
1.ปั่นจั่นชนิดที่อยู่กับที่ เป็นปั่นจั่นที่ติดกับอุปกรณ์ต่างๆที่มีการเคลื่อนที่จำกัด เช่น อาจติดกับล้อเลื่อน รางเลื่อน เหมาะสำหรับในโรงงานอุตสาหกรรม หรือการก่อสร้างอาคารสูง
2.ปั่นจั่นชนิดเคลื่อนที่ เป็นปั่นจั่นที่อุปกรณ์ต่างๆ ติดตั้งอยู่บนยานพาหนะที่ขับเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่างๆของพื้นที่ก่อสร้างได้ง่าย อาจติดตั้งอยู่บนรถตะขาบ
ความปลอดภัยในการใช้งานปั่นจั่น
1.เริ่มตั้งแต่ประกอบปั่นจั่น พนักงานที่ประกอบต้องมีความรู้ และประกอบปั่นจั่นอย่างถูกต้อง แข็งแรง
2.พนักงานผู้ควบคุมปั่นจั่น ต้องได้รับการอบรมการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณมือในการเคลื่อนย้าย และต้องเป็นคนช่างสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
3.พนักงานผู้ปฏิบัติงานด้านล่างที่ดูแลด้านการเคลื่อนย้ายวัสดุจากด้านล่าง ต้องได้รับการอบรมสัญญาณมือ ในการส่งสัญญาณได้ถูกต้อง
4.พนักงานทุกคนที่ปฏิบัติงานต้องมีร่างกายที่แข็งแรง พร้อมเสมอในการปฏิบัติงาน หากร่างกายไม่พร้อม นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ต้องยุติการปฏิบัติงานโดยทันที
5.พนักงานทุกคนที่ปฏิบัติงาน ต้องสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ที่เหมาะสมเสมอ เช่น หมวกนิรภัย ปลั๊กลดเสียง
6.เช็คสวิตซ์ใหญ่ควบคุมการทำงาน ต้องอยู่ในตำแหน่งปิด จากนั้นก็ทำการเปิดสวิตซ์ใหญ่ ทดสอบระบบการทำงานทั้งหมดของปั่นจั่นให้พร้อมสำหรับการทำงาน
7.จะยกสิ่งใดต้องทราบน้ำหนักของวัสดุที่จะยก ห้ามยกเกิดมาตรฐานที่กำหนดไว้
8.กรณีใช้ปั่นจั่นในที่สูง ต้องมีสัญญาณไฟที่บอกต่ำแหน่งให้อากาศยาน เช่น เครื่องบินรับทราบ
9.หากทำงานในเวลาค่ำคืน ต้องมีไฟสว่างที่เพียงพอในพื้นที่การทำงาน
10.ก่อนจะยกวัสดุใดขึ้น ต้องมั่นใจว่าตีนช้าง Outrigger ที่ยันพื้นที่แข็งแรงพอ เพราะพื้นที่บางจุดไม่สามารถรับน้ำหนักปั่นจั่นได้
11.ปั่นจั่นต้องห่างจากสายไฟไม่น้อยกว่า 3เมตร
12.ห้ามถ่วงน้ำหนักด้านท้ายเพิ่มจากที่กำหนด
13.สำคัญมาก ห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง แม้แต่พนักงานที่ไม่ได้ทำหน้าที่ในส่วนของปั่นจั่น เข้าใกล้ในสถานที่ปฏิบัติงานเด็ดขาด
14.หากใช้งานปั่นจั่นเสร็จสิ้น ต้องตรวจเช็คและบำรุงปั่นจั่นสม่ำเสมอ
ข้อมูลโดย บริษัท พีดีเอส อินเตอร์แนชชั่นแนล (ประเทศไทย) ผู้จัดจำหน่ายและให้คำปรึกษาด้านอุปกรณ์เซฟตี้ และอุปกรณ์ป้องกันอันตราย เบอร์โทรศัพท์ 02 361 8191
ตะแกรงป้องกันการหกล้น รหัส 28673ตะแกรงป้องกันการหกล้น รหัส 28673 ทำมาจากโพลีเอธิลีนที่ได้จากการรีไซเคิล 100% ช่องรองรับสารหกล้นเป็นไปตามหรือดีกว่ากฏระเบียบของการควบคุมการหกล้น |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |
แว่นตาเซฟตี้ WORKSafe Vectorแว่นตาความปลอดภัย แว่นตานิรภัย เลนส์ทำจาก Polycarbonate เข้ารูปกับใบหน้าพร้อมกระบังด้านข้าง |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |
เสื้อกั๊กติดแถบสะท้อนแสง รหัส PU035เสื้อกั๊กติดแถบสะท้อนแสง ตาข่ายเขียวแถบขาว สำหรับงานที่ต้องการความปลอดภัยในการทำงาน เช่น งานจราจร ทีมช่วยเหลือ เสื้อกั๊กมีหลายวัสดุให้เลือก |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |
ตะแกรงป้องกันการหกล้น รหัส 28659ตะแกรงป้องกันการหกล้น ตะแกรงวางถังน้ำมัน สารเคมี ฐานรองรับน้ำมัน ฐานรองรับสารเคมี ทำมาจากโพลีเอธิลีนที่ได้จากการรีไซเคิล 100% ทำให้ไม่เกิดความเสียหาย |
|
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า |